สิ่งทอเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular textile economy)

Circular Economy
17/01/2566     |     อ่าน : 1607 ครั้ง

คาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 8,000 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2030 และมากกว่า 9,000 ล้านคนในปี 2050 ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ถ้าสถานการณ์เป็นจริงตามที่คาดการณ์จะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนและอาจเกิดแย่งชิงทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ และพลังงานในอนาคต

คาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 8,000 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2030 และมากกว่า 9,000 ล้านคนในปี 2050 ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ถ้าสถานการณ์เป็นจริงตามที่คาดการณ์จะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนและอาจเกิดแย่งชิงทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ และพลังงานในอนาคต

แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยที่มีการประกาศนโยบาย Bio-Circular-Green Economy และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 8 : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง เป้าหมายที่ 12 : สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 : ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น และเป้าหมายที่ 15 : ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน  

รูปภาพ : https://thecircularconsumer.com/what-is-the-circular-economy/

การบริโภคในรูปแบบเดิมนั้น จะเป็นการบริโภคในรูปแบบเศรษฐกิจเส้นตรง (linear economy) มีการนำ (take) ทรัพยากรมาใช้ ผลิต (make) เป็นผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคใช้งาน (use) และถูกทิ้ง (dispose) เมื่อหมดสภาพการใช้งาน กลายเป็นขยะ (waste) ในที่สุด เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว การบริโภคมีปริมาณสูงมาก เราพบว่าการจัดการกับขยะจำนวนมหาศาลที่ไม่สามารถทำได้ทันเวลาและไม่ถูกต้องกลายเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ให้เห็นชัดเจนมากขึ้น เช่น การกินขยะพลาสติกของสัตว์ทะเล ภูเขาขยะแฟชั่น เป็นต้น 

รูปภาพ : https://www.bbc.com/thai/international-44266276

เศรษฐกิจหมุนเวียน คืออะไร

เศรษฐกิจหมุนเวียน คืออะไร

เศรษฐกิจหมุนเวียน คือ แนวคิดเชิงระบบในการออกแบบกระบวนการ ผลิตภัณฑ์/บริการ และรูปแบบธุรกิจ ด้วยการจัดการผังการไหลของทรัพยากรให้เกิดการหมุนเวียน และลดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจนนำไปสู่การไม่มีของเสีย ตลอดจนผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนในบริบทขององค์กร 

รูปภาพ : https://ellenmacarthurfoundation.org/circular-economy-diagram

แผนภาพระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) หรือที่เรียกว่าแผนภาพผีเสื้อ (butterfly diagram) จาก Ellen MacArthur Foundation แสดงให้เห็นถึงการไหลเวียนของวัสดุอย่างต่อเนื่องในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน มีสองวัฏจักรหลักคือวัฏจักรทางเทคนิคและวัฏจักรทางชีวภาพ ในวงจรทางเทคนิค ผลิตภัณฑ์และวัสดุจะถูกหมุนเวียนผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การใช้ซ้ำ การซ่อมแซม การผลิตซ้ำ และการรีไซเคิล ในวัฏจักรชีวภาพ สารอาหารจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจะถูกส่งกลับคืนสู่โลกเพื่อสร้างธรรมชาติขึ้นใหม่

สิ่งทอเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Textile Economy)

สิ่งทอเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Textile Economy)

อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงเป็นอันดับ 4 รองจากอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมขนส่ง และเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นลำดับที่ 5 ของภาคอุตสาหกรรม ปี 2015 อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเติบโตเป็น 2 เท่าของปี 2000 เป็นผลมาจากอุตสาหกรรม fast fashion ที่เสื้อผ้ามีราคาถูกลง แต่ในขณะเดียวกันอายุการใช้งานของเสื้อผ้าลดลง ทำให้มีขยะเสื้อผ้าเพิ่มมากขึ้น ในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว มีขยะเสื้อผ้าที่ถูกส่งไปฝังกลบมากถึง 14 ล้านตันในปี 2018 

จากรายงาน New Textile Economy ของ Ellen MacArthur Foundation ในปี 2017 มีเสื้อผ้าน้อยกว่า 1% ที่ถูกวนกลับด้วยการรีไซเคิลให้เป็นเสื้อผ้าใหม่ ขยะเสื้อผ้าส่วนใหญ่ (73%) ถูกฝังกลบหรือเผา แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่ถูกกล่าวถึงว่าจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาขยะแฟชั่นล้นเมืองในขณะนี้ 

รูปภาพ : https://ellenmacarthurfoundation.org/articles/the-trends-and-trailblazers-creating-a-circular-economy-for-fashion

แนวทางการดำเนินธุรกิจสิ่งทอเศรษฐกิจหมุนเวียน 

แนวทางการดำเนินธุรกิจสิ่งทอเศรษฐกิจหมุนเวียน 

ความตื่นตัวในเรื่องการนำเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาพัฒนาสินค้าใหม่ในวงการแฟชั่นนั้นมีตั้งแต่แบรนด์ fast fashion เช่น Zara H&M จนถึงแบรนด์หรู เช่น Salvatore Ferragamo ต่างปรับตัวนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และธุรกิจ

รูปภาพ : https://www.thaitextile.org/th/activities/downloadcmssrc.preview.422.html

ในส่วนของภาครัฐบาล ที่เห็นได้ชัดเจน คือ สหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป (The European Commission) ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ใหม่ EU Strategy for Sustainable and Circular Textiles เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์และการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้แน่ใจว่าภายในปี 2030 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่วางตลาดสหภาพยุโรปจะมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นและรีไซเคิลได้ โดยผลิตจากเส้นใยรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด ปราศจากสารอันตราย และกระบวนการผลิตสอดคล้องกับสิทธิทางสังคมและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่าผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการใช้สิ่งทอคุณภาพสูง การนำกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า และมีบริการซ่อมที่หาได้ง่ายขึ้น ยุทธศาสตร์นี้รวมถึงข้อกำหนดด้านการออกแบบเชิงนิเวศน์สำหรับสิ่งทอ Digital Product Passport และมาตรการบังคับสำหรับ EU extended producer responsibility scheme ยุทธศาสตร์นี้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการ European Green Deal และ the Circular Economy Action Plan

แนวคิดของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ประกอบด้วย 8 หลักการที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางของ กระบวนการผลิต ไปจนถึงปลายทาง ได้แก่
1. Durability (ทนทาน ใช้งานได้นานขึ้น)
2. Renewability (นำวัสดุที่สร้างทดแทนใหม่ได้มาใช้ในการผลิต)
3. Reuse (ใช้ซ้ำได้หลายครั้งตลอดอายุการใช้งาน)
4. Repair (บำรุงรักษาหรือซ่อมแซมได้ตลอดอายุการใช้งาน)
5. Replacement (เปลี่ยนหรือทดแทนการใช้วัสดุแบบเดิม)
6. Upgrade (เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน)
7. Refurbishment (การปรับปรุงเป็นของใหม่)
8. Reduced Material Use (ลดปริมาณวัสดุที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ)

จากหลักการดังกล่าว สามารถนำมาเป็นแนวทางในการทำธุรกิจสิ่งทอเศรษฐกิจหมุนเวียน 4 รูปแบบ ดังนี้
1. โมเดลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนานและมีความแข็งแรงทนทาน มุ่งเน้นที่จะยืดอายุการใช้งาน ลดการซื้อสินค้าชิ้นใหม่ โดยใช้การออกแบบที่เหมาะสมจะทำให้สินค้าสามารถซ่อมแซมได้ และรวมถึงข้อเสนอบริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาหลังการขายด้วย
2. โมเดลการเช่าและการแบ่งปันเสื้อผ้า ได้แก่ การเช่าชุดหรือเสื้อผ้าสำหรับโอกาสเดียว (รวมถึงชุดแต่งงานหรือชุดไปงานเลี้ยง) และเสื้อผ้าเด็ก (รวมถึงผ้าอ้อมแบบใช้ซ้ำได้) หรือการเช่าใช้ตู้เสื้อผ้าร่วมกันทุกวัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการใช้ทรัพยากรโดยการเพิ่มอัตราการใช้ของที่มีอยู่แล้ว 
3. โมเดลธุรกิจมือสอง รูปแบบธุรกิจนี้จะเป็นการรวบรวมและนำสินค้าที่ยังมีสภาพดีมาขายต่อเป็นสินค้ามือสอง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจเสื้อผ้ามือสองมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และลดการใช้ทรัพยากรลง 
 4. โมเดลการรีไซเคิลและการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่: โมเดลนี้จะเน้นการเปลี่ยนของเสียให้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตสิ่งทอใหม่ เช่น เส้นใย recycled PET ที่ทำจากขวดน้ำดื่ม การนำเสื้อผ้าเก่ามาเปลี่ยนให้เป็นวัตถุดิบเส้นใยใหม่เพื่อผลิตเป็นผ้าใหม่ เป็นการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยทำให้สามารถลดขยะและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์

อ้างอิง
http://carbonmarket.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y2VfaXM=
https://ellenmacarthurfoundation.org/circular-economy-diagram
https://www.sdgmove.com/intro-to-sdgs/
https://www.thaitextile.org/th/activities/downloadcmssrc.preview.422.html
https://www.rinse.com/blog/care/the-life-of-a-garment/
https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/15487733.2022.2083792#