ห่วงโซ่คุณค่าของสิ่งทอที่ยั่งยืนและหมุนเวียน (Sustainable and Circular Textile Value Chain)
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) ได้จัดทำกรณีศึกษาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทยต่อจุดวิกฤตในห่วงโซ่คุณค่าของสิ่งทอและเครื่องมือนโยบายการค้า ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่าของสิ่งทอที่ยั่งยืนและหมุนเวียน ซึ่งการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการค้าและห่วงโซ่คุณค่าของสิ่งทอที่ยั่งยืนและหมุนเวียน (project on trade and the sustainable and circular textile value chains)
ห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ประเทศไทยได้สร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ครบวงจรของผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยมีจุดแข็งในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอะคริลิกและโพลีเอสเตอร์รรายใหญ่อันดับที่ 5 และ 9 ของโลกตามลำดับ ขณะนี้กำลังพยายามยกระดับห่วงโซ่คุณค่าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไปสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงขึ้นและใช้ความรู้และทักษะมากขึ้น เช่น สิ่งทอทางเทคนิค
จุดวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในภาคสิ่งทอของไทยคือ การพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลัก ทั้งพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อน ซึ่งส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง นอกจากนี้ น้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมยังถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ ภาคสิ่งทอเป็นผู้ก่อให้เกิดมลพิษจากพลาสติกและไมโครพลาสติกเป็นอย่างมาก เส้นใยสิ่งทอที่ถูกทิ้งลงในหลุมฝังกลบหรือสถานที่ทิ้งขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ถูกจัดเก็บ กำลังกลายเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์มากขึ้น มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องยกระดับอุตสาหกรรมการย้อมพิมพ์และตกแต่งสิ่งทอให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น ขยะสิ่งทอกำลังกดดันระบบจัดการขยะมากขึ้น เนื่องจากความสามารถในการรีไซเคิลมีจำกัด
รัฐบาลไทยมีนโยบายเปิดกว้างต่อการค้าและการบูรณาการระดับโลกมายาวนาน มีการใช้เครื่องมือนโยบายการค้าเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภาคส่วนสิ่งทอและเครื่องนุ่ม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบเชิงบวกต่อความยั่งยืนและความหมุนเวียนของห่วงโซ่คุณค่าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ตัวอย่างได้แก่:
- การยกเลิกภาษีสำหรับแผงโซลาร์เซลล์ (solar photovoltaic (PV) products) (ซึ่งอาจช่วยให้บริษัทสิ่งทอลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล)
- มาตรฐานและฉลากความยั่งยืนโดยสมัครใจสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
- มาตรฐานและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรม
- โครงการการเงินการค้าที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
นอกจากนี้ยังมีแผนระดับชาติที่จะสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านสิ่งทอระดับภูมิภาคและการสนับสนุนมุ่งเป้าไปที่ SMEs เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก SMEs คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ในภาคสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม ข้อตกลงทางการค้า เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียนบวกหนึ่ง (the ASEAN Plus One FTAs) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership, RCEP) มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมค่อนข้างจำกัด มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อยสำหรับข้อตกลงเหล่านี้ ซึ่งทำให้ยากต่อการประเมินผลกระทบทั้งหมดต่อความยั่งยืนและการหมุนเวียน
ในอนาคตควรมีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและประเมินผลกระทบทางการค้าในประเด็นจุดวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ การผลิตเสื้อผ้าและการบริโภค สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่มูลค่าของสิ่งทอและเครื่องห่มของประเทศไทย นอกจากนี้ยังจะเป็นประโยชน์ต่อการประเมินประสิทธิผลของแรงจูงใจเชิงนโยบายในปัจจุบัน (ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การขยายการใช้พลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน) ควรสำรวจด้วยว่าทำอย่างไรจะใช้เครื่องมือนโยบายการค้า ข้อตกลงทางการค้าและเครื่องมือทางการเงินเพื่อการค้า เพื่อช่วยสนับสนุนต่อจุดวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่ขยายกว้างขึ้น เช่น การปลดปล่อยพลาสติก มลพิษทางน้ำเสีย และขยะสิ่งทอ
นอกเหนือจากการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแล้ว การประเมินนี้ยังอาจได้รับประโยชน์ในเรื่อง:
- ความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้กำหนดนโยบายการค้าและสิ่งแวดล้อม
- การปรึกษาหารืออย่างครอบคลุมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกลุ่มต่างๆ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (ได้แก่ SMEs กลุ่มประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น)
- การเจรจากับคู่ค้ารายใหญ่
การประเมินดังกล่าวอาจจะทำให้ข้อมูลในการกำหนดนโยบายดีขึ้นและมั่นใจต่อนโยบายใหม่ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะครอบคลุมถึง สิ่งจูงใจและความยั่งยืนในการออกแบบและการนำไปใช้อย่างสมบูรณ์ แรงจูงใจดังกล่าวอาจรวมถึงแรงจูงใจที่มุ่งเน้นสู่สิ่งทอทางเทคนิคและทางการแพทย์ให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น
ผู้ส่งออกไทยต้องเผชิญกับมาตรฐานความยั่งยืนที่เข้มงวดมากขึ้นจากตลาดสิ่งทอหลัก เช่น สหภาพยุโรป ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเพิ่มความพยายามในการเสริมสร้างความรู้และศักยภาพ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานและข้อกำหนดดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย (T&A) สู่การเพิ่มมูลค่าและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดภูมิภาคและโลก
อ้างอิง: https://wedocs.unep.org/handle/20.500.11822/42047;jsessionid=FFC4276896ABF4047148B25DA8697EA6
สมาชิกสามารถ download เอกสารได้ฟรี
สมัครสมาชิก ที่ https://www.textilescircle.com/th/member-login/buyer