Hattra คืนชีวิตใหม่ ให้ผ้าไทยดีไซน์สากล เพิ่มมูลค่า เร่งแข่งขันตลาด BCG สากล

Business Model
30/03/2566     |     อ่าน : 420 ครั้ง

ตัวอย่างโมเดลธุรกิจจากแบรนด์ Hattra ผ้าไทย คืนชีวิตผ้าไทยหัตถกรรมชุมชนผ้าฝ้ายทอมือ สร้างคุณค่าใหม่ หมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดของเสียทิ้งน้อยที่สุด

ตัวอย่างโมเดลธุรกิจจากแบรนด์ Hattra ผ้าไทย คืนชีวิตผ้าไทยหัตถกรรมชุมชนผ้าฝ้ายทอมือ สร้างคุณค่าใหม่ หมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดของเสียทิ้งน้อยที่สุด

รูปภาพ: Facebook Page Hattra ผ้าไทย

Hattra ใช้หลักคิดที่ออกแบบและวางแผน คืนสภาพ หรือให้ชีวิตใหม่ แก่วัสดุต่างๆในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ทดแทนการทิ้งให้เป็นขยะเมื่อสิ้นสุดการบริโภค เปลี่ยนกลับนำวัสดุองคืประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ ผ้าทอ กลับมาสร้างคุณค่าใหม่ หมุนเวียนเป็นวงกลมตามหลักเศรฐกิจหมุนเวียน เกิดของเสียเหบือทิ้งน้อยถึงน้อยที่สุด ซึ่งทางกลุ่มฯ นำผ้าเศษที่เหลือจากการตัดเย็บเสื้อผ้า วางทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เศษผ้าชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย เมื่อสะสมเข้านานวันกลายเป็นขยะสะสม และมีเศษด้ายเหลือที่หัวม้วนกี่ทอผ้า โดยปกติทั่วไปเศษดังกล่าวจะถูกทิ้ง

รูปภาพ: เว็บไซค์Hattra ผ้าไทย


โลกที่หมุนอย่างรวดเร็ว ผ่านคืนวัน เดือน ปี จากยุคดึกดำบรรพสู่ยุคแห่งอารยธรรมที่ทันสมัย มิอาจปฏิเสธว่าสิ่งต่างบนโลกถูกสรรสร้างและพัฒนามาจากสมองและสองมือของมนุษย์โดยทั้งสิ้น นี่จึงเป็นที่มาของสัญลักษณ์ของ "Hattra" คือมือที่มีพลังแห่งการสร้างสรรค์ และความประณีตบรรจงเป็นเสน่ห์ที่เครื่องจักรกลไม่อาจเทียบเท่าสองมือของเราได้ ผนวกเข้ากับความอบอุ่นจริงใจและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมกลายมาเป็นสินค้าที่มีความสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และดีต่อสุขภาพของผู้สวมใส่ นี้คือเจตนารมณ์ของ บริษัท เฮ็ดดี จำกัด

รูปภาพ: Facebook Page Hattra ผ้าไทย

 Hattra ออกแบบและวางแผนผลิตภัณฑ์ ตามหลัก BCG โดยกระบวนการ Circular CE นำเศษวัสดุดังกล่าวมาคัดเลือก จัดโทนสี เศษผ้านั้นนำมาตัดทำเป็นเส้นพุ่ง เศษด้ายนำมาทอ ตกแต่ง ให้เกิดดีไซน์ที่แปลกตา และประยุกต์เทคนิคพื้นบ้านต่างๆ ลงบนผ้าทอด้วย จึงได้กลายเป็น ผ้าทอที่มีมิติ สวยแปลก แตกต่าง ออกแบบ แปรรูปสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นผืนผ้าและเครื่องแต่งกายที่สวยงาม โดดเด่น ไม่มีใครเหมือน โดยตั้งชื่อดีไซน์นี้ว่า BCG Fashion 

ออกแบบโดยครูช่างอุไร สัจจะไพบูลย์ การทอผ้าและการแปรรูปโมเดลธุรกิจแบบใหม่นี้ เป็นนวัตกรรมแบบ Upcycling ใช้ประโยชน์จากวัสดุจากเศษผ้าที่ตัดออกรวมไปถึงเส้นดายที่เหลือใช้ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยลดมลภาวะก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน เกิดการสร้างงาน สร้างคน กระจายรายได้ในท่องถิ่น ถือได้ว่าเป็นโมเดลธุรกิจอันทรงคุณค่า


หากธุรกิจของคุณเป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยแนวคิดเศษฐกิจหมุนเวียน ร่วมแบ่งปันสาระเรื่องราวของคุณกับเราได้ที่นี้ >> ติดต่อเรา 

ที่มา : Circular Economy: บริษัท เฮ็ดดี จำกัด

ข่าวสารความเคลื่อนไหว
เครือข่าย IWIN เปิดตัวโครงการ Circular Upholstery Textile เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนเส้นทางของเสียจากหลุมฝังกลบกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล
Le Casino เปลี่ยนขยะเป็นโอกาสกับเส้นทางเดินของรองเท้ารักษ์โลก
ญี่ปุ่นตั้งเป้าขยายธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน
ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหภาพยุโรปสำหรับสิ่งทอที่ยั่งยืนและสิ่งทอหมุนเวียน
COP27 เริ่มแล้ว ประเด็นร้อนการหารือเรื่องการให้ชาติร่ำรวยต้องชดเชยให้กับชาติยากจนที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน
Marimekko นำร่องโครงการ Closed Loop โดยใช้วัสดุเหลือใช้
นวัตกรรมเส้นใยจากใบอ้อยสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากธรรมชาติ